วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ลักษณะทั่วไปของปลาทับทิม






ปลาทับทิม เป็นปลาที่ได้รับการปรับปรุงสายพันธุ์ให้ดีขึ้น ลักษณะของปลาทับทิม เนื้อผนังช่องท้องสีขาวสะอาด ต่างจากเนื้อปลาชนิดอื่น โดยทั่วไปจะมีผนังช่องท้องเป็นสีเทาดำโดยมีเกล็ด และผิวหนังเป็นสีแดงซึ่งถือเป็นสีมงคล ในปี พ.ศ.2530 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานแนวพระราชดำริให้ ธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ นำปลานิลจิตรลดาไปพัฒนาสายพันธุ์ใหม่โดยเลือกลักษณะเด่นของปลาแต่ละสายพันธุ์ที่ ต้องการนำมาผสมพันธุ์จนได้ปลาเนื้อพันธุ์ใหม่ เพื่อให้สามารถเจริญเติบโตได้ดีในน้ำเค็ม ในปี พ.ศ.2541 พระราชทานนามปลาชนิดใหม่ว่า "ปลาทับทิม" ตามลักษณะภายนอกอันโดดเด่น คือ สีของเกล็ดและตัวปลาที่มีสีแดงอมชมพูดูเป็นมงคล

เพาะเลี้ยงปลาดุก









การเพาะเลี้ยงปลาดุกอุย 
ปลาดุกอุย เป็นปลาน้ำจืดของไทยชนิดหนึ่งมีชื่อวิทยาศาตร์ว่า Carias macrocephalus พบว่ามีการแพร่กระจายทั่วไปเกือบทุกภาค ของประเทศไทยและในประเทศใกล้เคียงเช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ พม่า และบังกลาเทศ ฯลฯ ปลาดุกอุยเป็นปลาที่มีรสชาติดดี ประชาชนชาวไทยโดย ทั่วไปนิยมรับประทานแต่มีราคาค่อนข้างสูงต่อมาเกษตรกรนิยมเลี้ยงปลาดุกด้าน ปลาดุกบิ๊กอุย(สำหรับปลาดุกบิ๊กอุยซึ่งเป็นปลาดุกลูกผสมจากพ่อปลาดุกอัฟริกัน กับแม่ปลาดุกอุยซึ่งให้ผลผลิตและมีความต้านทานโรคสูง มีอัตราการเจริญเติบโตเร็ว) ทำให้เกษตรกรหันมาให้ความสนใจเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยกันอย่างแพร่หลาย ทั่วทุกภูมิภาค แต่อย่างไรก็ตามปลาดุกอุยก็นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นที่ต้องการของเกษตรกรผู้เพาะพันธุ์ปลาโดยวิธีผสมเทียมในการผลิตลูกปลา ดุกบิ๊กอุย เนื่องจากต้องใช้เป็นแม่พันธุ์ และผู้บริโภคที่พอใจในคุณภาพของเนื้อปลาดุกอุยที่อ่อนนุ่มและเหลืองน่ารับประทาน 

ลักษณะปลานิล



ลักษณะทั่วไปของปลานิล
ปลานิล  Oreochromis nilotica  เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งซึ่งมีคุณค่าทางเศรษฐกิจนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508 เป็นต้นมา สามารถเลี้ยงได้ในทุกสภาพ การเพาะเลี้ยงในระยะเวลา 8 เดือน – 1 ปี สามารถเจริญเติบโตได้ถึงขนาด 500 กรัม เนื้อปลามีรสชาติดี มีผู้นิยมบริโภคกันอย่างกว้างขวาง ขนาดปลานิลที่ตลาดต้องการจะมีน้ำหนักตัวละ 200 – 300 กรัม จากคุณสมบัติของปลานิลซึ่งเลี้ยงง่ายเจริญเติบโตเร็วแต่ปัจจุบันปลานิลพันธุ์แท้ค่อนข้างจะหายาก เพื่อให้ได้ปลานิลพันธุ์ดีกรมประมงจึงได้ดำเนินการ ปรับปรุงพันธุ์ปลานิลในด้านต่างๆอาทิ เจริญเติบโตเร็ว ปริมาณความดกของไข่สูง ให้ผลผลิตและมีความต้านทานโรคสูง เป็นต้น ดังนั้นผู้เลี้ยงปลานิลจะได้มีความมั่นใจในการเลี้ยงปลานิจเพื่อเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำให้เพียงพอต่อการบริโภคต่อไป

ลักษณะปลาช่อน







ปลาช่อนเป็นปลาน้้าจืดที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งของประเทศไทยอาศัยอยู่ในแหล่งน้้าจืด ทั่วไป เช่น แม่น้้า ล้าคลอง หนอง บึงและทะเลสาบ มีชื่อสามัญ STRIPED SNAKE-HEAD FISH และมีชื่อ วิทยาศาสตร์ว่า Channa striatus ปลาช่อนเป็นปลาที่มีรสชาติดีก้างน้อย สามารถน้ามาประกอบอาหาร ได้หลายชนิด จึงท้าให้การบริโภคปลาช่อนได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย แต่ปัจจุบันปริมาณ ปลาช่อนที่ จับได้จากแหล่งน้้าธรรมชาติมีจ้านวนลดน้อยลง เนื่องจากการท้าประมง เกินศักยภาพการผลิต ตลอดจน สภาพแวดล้อมของแหล่งน้้าเสื่อมโทรม ตื้นเขิน ไม่เหมาะสมต่อการด้ารงชีวิต ท้าให้ปริมาณปลาช่อนใน ธรรมชาติ ไม่เพียงพอต่อการใช้ประโยชน์และความต้องการบริโภค การเลี้ยงปลาช่อนจึงเป็นแนวทางหนึ่ง ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลน โดยน้าลูกปลา ที่รวบรวมได้จากแหล่งน้้าธรรมชาติและจากการเพาะ ขยายพันธุ์มาเลี้ยงให้เป็นปลาโตตามขนาดที่ตลาดต้องการต่อไป
ปลาสวายเป็นปลาน้ำจืดประเภทไม่มีเกล็ดเช่นเดียวกับปลาเทโพ เทพา และสังกะวาด เป็นปลา ที่มีขนาดใหญ่มากรองจากปลาบึก ขนาดใหญ่ที่สุดมีความยาวถึง 150 ซม. ปลาชนิดนี้มีพบในแถบประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กัมพูชา เวียดนาม และไทย
ปลาสวายมีชื่อสามัญหรือชื่อภาษาอังกฤษว่า Stripped Catfish มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Pangasius ru.chi Fowler เป็นปลาที่มีบทบาทสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศชนิดหนึ่ง เริ่มจากทำให้ราษฎรมีอาชีพ รวบรวมพันธุ์ปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น ในเขตจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ส่งขายต่อให้ผู้เลี้ยงปลา ในเขตจังหวัดอุทัยธานี อยุธยา และกรุงเทพฯ ประมาณปี 2492 เป็นต้นมา ต่อมาได้มีการผสมเทียมในการเพาะพันธุ์ปลาชนิดนี้สำเร็จในปี 2509 และหลังจากนั้น 3 ปี การเพาะพันธุ์และการอนุบาลก็ประสบความสำเร็จพอดำเนินเป็นการค้าได้ นอกจากนี้ได้มีอาชีพเลี้ยงลูกปลาขนาดเล็กเพื่อส่งขายต่างประเทศแบบลูกปลาสวายสวยงามได้ด้วย

วิธีเลือกซื้อปลาหมึก




ปลาหมึกกล้วย ตัวจะออกรี ๆ ยาว ๆ คล้ายกล้วย มีเยื่อหุ้มตัวสีออก น้ำตาล ส่วนด้านข้างจะมีปีกเล็ก ๆ 2 ปีก มีสีเข้มเป็นพิเศษ นิยม 
นำมาทำปลาหมึกยัดไส้
ชนิดใด ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะอาหารที่ต้องการปรุง
และลูกตาออก นอกจากนี้ ควรบั้งปลาหมึกก่อน เพราะเนื้อปลาหมึกค่อนข้างแน่น หากไม่บั้ง เครื่องปรุงจะไม่ซึมเข้าเนื้อ และไม่อร่อย
ครั้งหน้าถ้าจะซื้อปลาหมึก ก็อย่าลืมนำวิธีที่แนะนำไปสังเกตปลาหมึกก่อนซื้อกันดูได้

ปลาหมึกกระดอง ลักษณะตัวแบนใหญ่สีขาว นิยมนำมาทำปลา หมึกปิ้ง และอาหารอื่น ๆ เช่น ผัด หรือยำลักษณะตัวแบนใหญ่สีขาว
การเลือกซื้อปลาหมึก คือ ควรเลือกซื้อปลาหมึกที่เนื้อแน่น ไม่เละ และลองดมดู ไม่มีกลิ่นฉุน ๆ ของฟอร์มาลีน ส่วนจะเลือกปลาหมึก
ก่อนนำปลาหมึกไปปรุงอาหาร ต้องล้างปลาหมึกให้สะอาด ลอกเยื่อบาง ๆ ออกให้หมด พร้อมกับกระดองด้านในออก ควักถุงหมึก 

วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ประวัติของปลากะพงขาง








ปลากะพงขาว เป็นปลาน้ำกร่อยขนาดใหญ่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Lates calcarifer (Bloch) ชื่อสามัญเรียกว่า Giant Perch หรือ Sea Bass สามารถอาศัยอยู่ได้ทั้งในน้ำจืด น้ำกร่อยและน้ำเค็ม ปลาชนิดนี้เลี้ยงกันแพร่หลายในเขตจังหวัดชายทะเลของประเทศไทย เนื่องจากเลี้ยงง่าย โตเร็ว เนื้อมีรสชาติดีและมีราคา ปัจจุบันประเทศไทยสามารถเพาะพันธุ์ปลากะพงขาวได้เป็นจำนวนมาก เพื่อเลี้ยงในประเทศและส่งขายต่างประเทศ ในปัจจุบันพบปลากระพงขาวแพร่กระจายอยู่ทุกจังหวัด ทั้งในอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามันจะอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่ไม่ห่างออกไปจากชายฝั่งมากนัก โดยอาศัยอยู่ชุกชุมตามปากแม่น้ำลำคลองและปากทะเลสาบ อย่างไรก็ตาม ปลากะพงขาว ยังสามารถขึ้นไปอาศัยและเจริญเติบโตยังแหล่งน้ำจืดได้อีกด้วย จึงจัดเป็นปลาประเภทสองน้ำอย่างแท้จริง

ลักษณะของปลาตะเพียน












 ปลาตะเพียน มีลักษณะลาตัวแบนข้าง หัวเล็ก ปากเล็ก ริมฝีปาก ขอบส่วนหลังโค้งยกสูงขึ้นความยาวจากสุดหัวจรดปลายหาง 2.5 เท่าของความสูง จะงอยปากแหลม มีหนวดเส้นเล็กๆ 2 คู่ มีเกล็ดตามแนวเส้นข้างตัว 29 -31 เกล็ด ลาตัวมีสีเงินแวววาว ส่วนหลังมีสีคล้าเล็กน้อย ส่วนท้องมีสีขาว ที่โคนของเกล็ดมีสีเทาจนเกือบดา ปลาตะเพียน ซึ่งขนาดโตเต็มที่จะมีลาตัวยาวสูงสุดถึง 50เซนติเมตร

ลักษณะของปลาบึก

1.ลำตัวยาว เบนข้างเล็กน้อย สันหลังตั้งแต่ครีบหลังลาดลงจนสุดปลายจงอยปาก จงอยปากใหญ่ปลายมนกลม หัวใหญ่ยาว
2.นัยน์ตาตั้งอยู่ในระดับต่ำกว่ามุมปากและมีขนาดเล็กมาก ลูกตาเป็นอิสระไม่ติดกับของตา
3.ตอนบนหัวประมาณจุดกึ่งกลางมีจุดกลมสีขาว ขนาดประมาณครึ่งหนึ่งของนัยน์ตา 1 จุด จากจุดนี้พาดไปทางด้านหลังจนไปสุดประมาณปลายช่องเปิดของกระพุ้งเหงือก
4.ปากอยู่ปลายสุดขนาดค่อนข้างใหญ่ ไม่มีฟัน มีหนวดเส้นเล็กๆ ที่ขากรรไกรบน 1 คู่ ซึ่งซ่อนอยู่ในร่องหลังมุมปาก ลักษณะของหนวดเป็นเส้นเล็กแบนมีสีแดงเรื่อ
5.บริเวณปลายจงอยปากมีรูจมูก 2 คู่ ตั้งอยู่ค่อนไปทางด้านข้างของหัว รูจมูกคู่หน้าอยู่ชิดกันมากกว่ารูจมูกคู่หลัง ช่องเปิดของเหงือกกว้างจนเลยขึ้นไปเหนือฐานครีบอก
6.จุดเริ่มต้นของครีบหลังอยู่ล้ำหน้าจุดเริ่มต้นครีบท้อง ครีบหลังมีก้านครีบแข็ง 2 อัน ก้านครีบแข็งอันหลังไม่เป็นเงี่ยงแข็ง(Pungent spine) และไม่หยักเป็นฟันเลื่อย ก้านครีบอ่อนมี 7 ก้าน
7.ครีบอกอยู่ค่อนข้างต่ำ มีก้านครีบแข็งใหญ่ 1 อัน แต่ปลายโค้งงอได้ ไม่แข็งเป็นเงี่ยงหรือหยักเป็นฟันเลื่อย ก้านครีบอ่อนมี 10 อัน ความยาวของครีบอกยาวเท่าหรือเกือยเท่าความยาวของครีบหลัง
8.ครีบท้องมีก้านครีบแข็ง ซึ่งโค้งงอได้ 1 อัน ก้านครีบอ่อน 7 อัน
9.ครีบก้นยาวประกอบด้วยก้านครีบแข็งที่โค้งงอได้ 5 อัน ก้านครีบอ่อน 30 อัน ครีบไขมันมีขนาดเล็กและอยู่ค่อนไปทางครีบหาง
10.สีของลำตัวทางด้านหลังมีสีเทาปนน้ำตาลแดง ด้านข้างสีเทาปนน้ำเงิน ส่วนท้องสีขาว ปริเวณข้างลำตัวประมาณสุดปลายครีบอกมีจุดสีดำกลมขนาดเล็กกว่าลูกตา 1 จุด และจุดแบบเดียวกันนี้พบกระจายกันอยู่บนครีบก้นอีก 3 จุด คือ ครีบอก ครีบ

ประวัติปลาชะโด















ปลาชะโด เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ ตระกูลเดียวกันกับช่อน แต่มีขนาดใหญ่กว่าโดยมีขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 1 เมตร หรือ 1.5 เมตร น้ำหนักถึง 20 กิโลกรัม มีรูปร่างลำตัวค่อนข้างกลมยาว พื้นลำตัวสีน้ำตาลอมเขียว มีลายประสีดำกระจายทั่วตัว ภายในปากมีฟันแหลมคม เมื่อยังเป็นปลาขนาดเล็กจะมีสีลำตัวเป็นสีน้ำตาลและมีแถบสีดำ, ส้ม และเหลืองพาดตามความยาวลำตัว 2 แถบ บริเวณหางสีแดงสด เมื่อเริ่มโตขึ้นมาสีและลายจะเริ่มจางหายไปกลายเป็นสีเขียวอมน้ำตาลคล้ายสี ของเปลือกหอยแมลงภู่แทนโดยการที่สีของปลาเปลี่ยนไปตามวัยนี้ ชะโดจึงมีชื่อเรียกต่างออกไปตามวัย เมื่อยังเป็นลูกปลาจะถูกเรียกว่า “ชะโด” หรือ “อ้ายป๊อก” เมื่อโตเต็มที่แล้วจะถูกเรียกว่า “แมลงภู่” ตามสีของลำตัว นอกจากจะเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดในตระกูลนี้แล้ว



แข่งขันการตกปลา (มันเป็นเรื่องของศักศรี)